สาขาวิชาแฟชั่นและสิ่งทอ

พัฒนาอาชีพอย่างมุงมั่น แฟชั่นและสิ่งทอ

หลักสูตรที่เปิดสอน
- หลักสูตร ปวช. ประเภทวิชาคหกรรม สาขาวิชาแฟชั่นและสิ่งทอ (รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3)
- หลักสูตร ปวส. ประเภทวิชาคหกรรม สาขาวิชาเทคโนโลยีแฟชั่นและเครื่องแต่งกาย (รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับชั้น ปวช. ทุกสาขาวิชา [ทั้งสายตรงหรือจบจากสาขาอื่น ๆ] หรือมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า)

รายละเอียดสาขาวิชา
สาขาวิชาแฟชั่นและสิ่งทอ (หลักสูตร ปวช.) และสาขาวิชาเทคโนโลยีแฟชั่นและเครื่องแต่งกาย (หลักสูตร ปวส.) เน้นการจัดการเรียนการสอนโดยการวางแผน ดำเนินงานตามหลักการและกระบวนการ โดยคำนึงถึงการบริหารงานคุณภาพ การอนุรักษ์พลังงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม หลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติงานพื้นฐานอาชีพแฟชั่นและสิ่งทอ ตามหลักการและกระบวนการ เลือกใช้และบำรุงรักษาเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ในงานอาชีพตามหลักการและกระบวนการ โดยคำนึงถึงความประหยัดและความปลอดภัย ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ เพื่อพัฒนาและสนับสนุนงานอาชีพ วิเคราะห์แบบเสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เพื่อการสร้างแบบตัดเย็บและตกแต่ง เลือกใช้วัสดุสิ่งทอ ใช้และบำรุงรักษาวัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ในงานออกแบบตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ปฏิบัติงานพื้นฐาน การออกแบบ ตัดเย็บและตกแต่งเสื้อผ้าบุรุษ สตรี เด็กและผลิตภัณฑ์สิ่งทอ รวมถึงคิดคำนวณต้นทุนการผลิตและควบคุมคุณภาพเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์สิ่งทอ อีกด้วย

ตัวอย่างบางส่วนรายวิชาที่ศึกษา
- ความรู้เรื่องสิ่งทอ
- พื้นฐานโครงสร้างแบบตัด
- พื้นฐานการเย็บระบบอุตสาหกรรม
- การออกแบบเสื้อเบื้องต้น
- เสื้อผ้าบุรุษ/สตรี/เด็กเบื้องต้น
- การตกแต่งเสื้อผ้าเบื้องต้น
- การใช้และบำรุงจักร
- อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแฟชั่นและสิ่งทอและเทคโนโลยีแฟชั่นและเครื่องแต่งกาย

อาชีพที่รองรับหลังจบการศึกษา
- ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า
- ช่างออกแบบเสื้อผ้า
- เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการขาย/พนักขาย (เกี่ยวกับเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย)
- พนักงานโรงแรม เช่น ห้องซักรีด ฝ่ายซ่อมแซมงานผ้า
- ครู/อาจารย์ทางด้านแฟชั่นและสิ่งทอ
- รับราชการในหน่วยงานต่าง ๆ
- อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแฟชั่นและสิ่งทอและเทคโนโลยีแฟชั่นและเครื่องแต่งกาย



คณะครูผู้สอน แฟชั่นและสิ่งทอ


นางสาวสุกัญญา บุญแท้

ครูชำนาญการพิเศษ (คศ.3) แผนกวิชาแฟชั่นและสิ่งทอ

นางสาวทิชา เกิดทรัพย์

ครูชำนาญการพิเศษ (คศ.3) แผนกวิชาแฟชั่นและสิ่งทอ

นางสาวกูมัสก๊ะ ซายอ

ครูผู้ช่วย แผนกวิชาแฟชั่นและสิ่งทอ

หน้าที่และความรับผิดชอบครูผู้สอน

1. การจัดทำแผนการจัดการเรียนการสอน ตารางเรียน ตารางสอน บัญชีวิชาเลือก จัดตารางสอนรวมและตารางส่วนบุคคลของแผนกวิชา
2. ควบคุมดูแล ส่งเสริม กำกับ ติดตามการจัดการเรียนการสอน แก้ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน การฝึกงาน การวัดผลประเมินผล และการวิจัยในแผนกวิชาให้เป็นไปตามหลักสูตรและระเบียบแบบแผนของทางราชการ
3. วางแผนและดำเนินงานด้านมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาของแผนกวิชา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาอย่างต่อเนื่องและรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกได้
4. จัดหาดูแลรักษาวัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือของแผนกวิชาให้ใช้งานได้เป็นปกติ และมีเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน
5. สนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอน นวัตกรรม เทคโนโลยี และสิ่งประดิษฐ์ การใช้อุปกรณ์การเรียนการสอน การเขียนตำรา เอกสาร และใบช่วยสอนต่าง ๆ
6. ติดตามและแนะนำเกี่ยวกับการทำโครงการฝึก โครงการสอน แผนการเรียนรู้ คู่มือครู ใบงาน ตลอดจนแฟ้มสะสมงาน โดยบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้สอดคล้องกับหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนการสอน
7. ควบคุมการใช้วัสดุการศึกษา และลงทะเบียนผลิตผลของแผนกวิชาให้เป็นไปตามใบงาน
8. ควบคุมดูแลและพัฒนาสำนักงาน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ให้สะอาดเรียบร้อยทันสมัยอยู่เสมอ
9. ปกครองดูแลบุคลากรในแผนกวิชาให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และเสนอความดีความชอบของบุคลากรในแผนกวิชา
10. ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
11. จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับขั้น
12. ดูแล บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
13. ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย