สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัลและคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

นวัตกรรมทันสมัย ก้าวไกลด้วยเทคโนโลยี มีจิตสำนึกต่อสังคม

หลักสูตรที่เปิดสอน
- หลักสูตร ปวช. ประเภทวิชาพาณิชยกรรม สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3)
- หลักสูตร ปวส. ประเภทวิชาพาณิชยกรรม สาขาวิชาการเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล (รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับชั้น ปวช. ทุกสาขาวิชา [ทั้งสายตรงหรือจบจากสาขาอื่น ๆ] หรือมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า)
- หลักสูตร ปริญญาตรีสายเทคโนโลยี (หลักสูตรทวิภาคี) ประเภทวิชาพาณิชยกรรม สาขาวิชาการเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล (รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับชั้น ปวส. สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล หรือที่เกี่ยวข้องเท่านั้น)

รายละเอียดสาขาวิชา
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (หลักสูตร ปวช.) และสาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล (หลักสูตร ปวส. และหลักสูตรปริญญาตรี) เน้นการจัดการเรียนการสอนโดยการวางแผน ดําเนินงานตามหลักการและกระบวนการ โดยคำนึงถึงการบริหารงานคุณภาพ การอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม หลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติงานพื้นฐานอาชีพด้านการบัญชีตามหลักการและกระบวนการ เลือกใช้และบำรุงรักษาเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ในงานอาชีพตามหลักการและกระบวนการโดยคำนึงถึงความประหยัดและความปลอดภัย ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ เพื่อพัฒนาและสนับสนุนงานอาชีพ ใช้โปรแกรมสําเร็จรูปในงานธุรกิจ ใช้และดูแลระบบคอมพิวเตอร์ ติดตั้งและใช้งานระบบเครือข่ายเบื้องต้น ออกแบบและเขียนโปรแกรมพื้นฐาน สร้างเว็บไซต์ด้วยโปรแกรมสําเร็จรูป ปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อีกด้วย

ตัวอย่างบางส่วนรายวิชาที่ศึกษา
- ระบบปฏิบัติการเบื้องต้น
- คอมพิวเตอร์และการบำรุงรักษา
- คณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์
- หลักการเขียนโปรแกรม
- เครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
- องค์ประกอบศิลป์สำหรับงานคอมพิวเตอร์
- จริยธรรมและกฎหมายคอมพิวเตอร์
- อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ธุรกิจและเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล

อาชีพที่รองรับหลังจบการศึกษา
- นักวิเคราะห์ระบบ
- โปรแกรมเมอร์
- เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมด้านการตลาด
- เจ้าของธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์
- เว็บมาสเตอร์ / ผู้เขียนแอปพลิเคชั่น
- รับราชการในหน่วยงานต่าง ๆ
- อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ธุรกิจและเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล



คณะครูผู้สอน เทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัลและคอมพิวเตอร์ธุรกิจ


นายธีรวัฒน์ แพทย์เพียร

หัวหน้าแผนกวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลธุรกิจและคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

นางสงกรานต์ ศิรินาวี

ครูชำนาญการพิเศษ (คศ.3) แผนกวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลธุรกิจและคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

นางชัฎฎาพร ศักดิ์จิรพาพงษ์

ครูชำนาญการพิเศษ (คศ.3) แผนกวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลธุรกิจและคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

นางสาวอุดมลักษณ์ สุวรรณัง

ครูชำนาญการพิเศษ (คศ.3) แผนกวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลธุรกิจและคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

นางสุนิสา อินทนิน

ครูชำนาญการพิเศษ (คศ.3) แผนกวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลธุรกิจและคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

นางสาวสมสุข ตรีเมืองปักษ์

ครูชำนาญการพิเศษ (คศ.3) แผนกวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลธุรกิจและคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

นางสาวนุมาศ ยอดประเสริฐ

ครูชำนาญการพิเศษ (คศ.3) แผนกวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลธุรกิจและคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

นางสาวประภาศรี ตระกูลสุขทรัพย์

ครูชำนาญการ (คศ.2) แผนกวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลธุรกิจและคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

นางสาวสิปภา โชติโภคินสุข

ครูชำนาญการ (คศ.2) แผนกวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลธุรกิจและคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

นางสาวอรัญญา เกตุมณี

ครู (คศ.1) แผนกวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลธุรกิจและคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

นางสาวภัทรวริน บุญทา

ครูผู้ช่วย แผนกวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลธุรกิจและคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

หน้าที่และความรับผิดชอบครูผู้สอน

1. การจัดทำแผนการจัดการเรียนการสอน ตารางเรียน ตารางสอน บัญชีวิชาเลือก จัดตารางสอนรวมและตารางส่วนบุคคลของแผนกวิชา
2. ควบคุมดูแล ส่งเสริม กำกับ ติดตามการจัดการเรียนการสอน แก้ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน การฝึกงาน การวัดผลประเมินผล และการวิจัยในแผนกวิชาให้เป็นไปตามหลักสูตรและระเบียบแบบแผนของทางราชการ
3. วางแผนและดำเนินงานด้านมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาของแผนกวิชา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาอย่างต่อเนื่องและรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกได้
4. จัดหาดูแลรักษาวัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือของแผนกวิชาให้ใช้งานได้เป็นปกติ และมีเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน
5. สนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอน นวัตกรรม เทคโนโลยี และสิ่งประดิษฐ์ การใช้อุปกรณ์การเรียนการสอน การเขียนตำรา เอกสาร และใบช่วยสอนต่าง ๆ
6. ติดตามและแนะนำเกี่ยวกับการทำโครงการฝึก โครงการสอน แผนการเรียนรู้ คู่มือครู ใบงาน ตลอดจนแฟ้มสะสมงาน โดยบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้สอดคล้องกับหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนการสอน
7. ควบคุมการใช้วัสดุการศึกษา และลงทะเบียนผลิตผลของแผนกวิชาให้เป็นไปตามใบงาน
8. ควบคุมดูแลและพัฒนาสำนักงาน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ให้สะอาดเรียบร้อยทันสมัยอยู่เสมอ
9. ปกครองดูแลบุคลากรในแผนกวิชาให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และเสนอความดีความชอบของบุคลากรในแผนกวิชา
10.ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
11. จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับขั้น
12. ดูแล บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
13. ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย